วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

หลักฐานทางประวัติศาสตร์....

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์หมายถึงร่องรอยการกระทำ การพูด หรือ การเขียน การประดิษฐ์ที่อยู่อาศัย เป็นต้น หรืออาจกล่าวได้ว่าอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในอดีต เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น


( รูปนี้จาก http://thailand.novabizz.com/ )



การแบ่งประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

.  แบ่งตามยุคสมัย
     1.1 หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานที่เกิดขึ้นในสมัยที่ยังไม่มีการบันทึกเป็นอักษร 
  1.2 หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานสมัยที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์ตัวอักษร และบันทึกในวัสดุต่างๆ มี ร่องรอยที่แน่นอนเกี่ยวกับสังคมเมือง
 2.  แบ่งตามลักษณะหรือวิธีการบันทึก
     2.1 หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ เอกสารทางวิชาการ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย วรรณกรรม ตำรา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย
2.2 หลักฐานไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ เงินตรา หลักฐานจากการบอกเล่า 
3. แบ่งตามลำดับความสำคัญ
3.1หลักฐานชั้นต้น(Primary sources) อันได้แก่หลักฐานที่บันทึกไว้โดยผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง   หรือรู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง
3.2 หลักฐานรอง(Secondary sources) ซึ่งได้แก่บันทึกของผู้ที่ได้รับทราบเหตุการณ์จากคำบอกเล่าของบุคคลอื่นมาอีกต่อหนึ่ง หนังสือประวัติศาสตร์ที่มีผู้เขียนขึ้นภายหลัง โดยอาศัยการศึกษาจากหลักฐานชั้นต้น 

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  คือ
- หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
- หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร   ถ้าแบ่งตามลักษณะเด่นของข้อสนเทศที่ให้ในหลักฐานแล้ว  อาจกล่าวได้ว่ามีอยู่  13  ประเภท  
      1.1 จดหมายเหตุชาวต่างชาติ 
     1.2 จดหมายเหตุชาวพื้นเมือง
     1.3  ตำนาน
     1.4  พงศาวดารแบบพุทธศาสนา 
     1.5  พระราชพงศาวดาร
     1.6  เอกสารราชการหรือเอกสารการปกครอง
     1.7  หนังสือเทศน์
     1.8  วรรณคดี
     1.9  บันทึก
     1.10  จดหมายส่วนตัว
     1.11  หนังสือพิมพ์
     1.12  งานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์
     1.13  จารึก

( รูปนี้จาก 
http://www.touronthai.com/ )
2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร    ได้แก่
     2.1  หลักฐานทางโบราณคดี  เช่น  หลุมฝังศพ  ซากโครงกระดูก  เครื่องปั้นดินเผา  ลูกปัด  หม้อ  ไห  ถ้วย  ชาม  ภาชนะต่างๆ 
     2.2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ  คือ  สิ่งก่อสร้างในงานสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  และสิ่งแวดล้อมของสังคมที่ให้กำเนิดศิลปกรรมทั้งหลาย  
     2.3 นาฏกรรมและดนตรี  มักเป็นศิลปะที่ได้รับสืบทอดจารีตมาแต่อดีต
     2.4 คำบอกเล่า คือ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้มีการจดเป็นลายลักษณ์อักษร  ไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน  จึงแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและคนเล่า  ซึ่งคำบอกเล่านี้มักเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น  ที่คนภายในสังคมนั้นมีข้อจำกัดทางการศึกษาจึงใช้การจดจำบอกเล่าสืบต่อกันมา.....>>>>


( รูปนี้จาก http://www.oknation.net/blog/paaru/2010/02/17/entry-1 )

อ้างอิงจาก

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/thai_living_ancestors/10.html
http://krusutee.blogspot.com/2011/01/historical-sources.html
http://406dmsu.exteen.com/20120220/entry-http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/malaiwan_c/historym1/unit01_03.html
http://www.slideshare.net/montira490210262/1-4639577
http://orawan1967.wordpress.com/ http://thailand.novabizz.com/
http://www.oknation.net/blog/paaru/2010/02/17/entry-1
 http://www.touronthai.com/ )
และ  http://pangpondoo.blogspot.com/2013/09/blog-post.html